• 038-350-456
  • tp@thungsukla.ac.th
  • จ-ศ 08:00 - 16:00 น.

Line ID@984LBFJU

Facebookโรงเรียนทุ่งศุขลาพิทยา “กรุงไทยอนุเคราะห์”

ข้อมูลพื้นฐาน


โรงเรียนทุ่งศุขลาพิทยา “กรุงไทยอนุเคราะห์”
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18

ภาพโรงเรียน
  • ตั้งอยู่ เลขที่ 217 หมู่ 11 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยมีคำว่า “กรุงไทยอนุเคราะห์” อยู่ในอัญประกาศนั้นหมายความว่าธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้มอบที่ดินให้ เดิมบริเวณที่จัดสร้างโรงเรียนเป็นไร่มันสำปะหลังติดอยู่กับวัดเนินบุญญาราม ชาวบ้านเรียกว่า “วัดต้นมะม่วง” ได้มีการประชุมหารือของ พระสมุห์คำดี นาควณฺโณ (พระครู สุกิจวิมล) เจ้าอาวาสวัดเนินบุญญาราม ว่าน่าจะมีการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมประจำตำบลสักแห่งหนึ่ง ซึ่งในที่ประชุมเห็นชอบโดยมอบหมายให้ นายไชยยงค์ สุธรรมพงษ์ เป็นตัวแทนปรึกษา เรื่องการก่อสร้างโรงเรียนกับนายธนัญชัย ปกป้อง ศึกษาธิการอำเภอศรีราชาในขณะนั้น ได้รับความร่วมมือในการติดต่อกับกระทรวงศึกษาธิการเป็นอย่างดี คณะกรรมการผู้ก่อตั้งโรงเรียนได้หาที่ดินเพื่อนำมาจัดสร้างโรงเรียน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการกำหนดว่า
  • โรงเรียนทุ่งศุขลาพิทยา “กรุงไทยอนุเคราะห์” เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา ประจำตำบลทุ่งสุขลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 กระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนที่จะสร้างได้นั้น ต้องมีพื้นที่อย่างน้อย 35 ไร่ จึงได้ติดต่อขอซื้อที่ดินของธนาคารกรุงไทย จำกัด จำนวน 27 ไร่ 2 งาน แต่ไม่สามารถตกลงราคาซื้อขายได้ ด้วยความช่วยเหลือสนับสนุนจากท่าน พลตรีศิริ ศิริโยธิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น กับ นายบุญชู โรจนเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในการติดต่อซื้อที่ดินดังกล่าวเป็นผลให้ ธนาคารกรุงไทย จำกัด ได้มอบที่ดินให้กับคณะกรรมการผู้ก่อตั้งโรงเรียนโดยไม่คิดมูลค่า เนื่องจากที่ดิน ยังไม่ครบ 35 ไร่ คณะกรรมการผู้ก่อตั้งได้ขอซื้อที่ดินจำนวน 7 ไร่ 2 งาน จากคุณป้าเสงี่ยม กลัดเข็มทอง ในราคาถูก ต่อมาโรงเรียนได้ขออนุญาตใช้ที่ดินบางส่วนของสถานีโทรคมนาคมภาคพื้นดินผ่านดาวเทียมศรีราชา การสื่อสารแห่งประเทศไทย จำนวน 2 ไร่ 74 ตารางวา รวมเนื้อที่ทั้งหมด 37 ไร่ 1 งาน 74 ตารางวา

วิสัยทัศน์

จัดการศีกษาสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล

ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

คติพจน์

นตฺถิ ปญฺญา สมา อาภา

แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี

ปรัชญา

มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม
นำประชาธิปไตย

สีประจำโรงเรียน

แสด – ดำ
สีแสด หมายถึง ความรู้
สีดำ หมายถึง คุณธรรม


อัตลักษณ์

ดนตรีดี กีฬาเด่น สิ่งแวดล้อมร่มรื่น

อัตลักษณ์

ยิ้มง่าย ไหว้สวย


พันธกิจ


  1. ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้สูงขึ้น ส่งเสริมความเป็นเลิศด้านดนตรี กีฬา ศิลปะ และอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยสู่ประชาคมอาเซียน
  2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3R x 8C)
  3. ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะและค่านิยมที่ดี เป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด
  4. มีระบบการบริหารจัดการและพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา โดยยึดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจของสถานศึกษาครบทุกกลุ่มเป้าหมาย
  5. พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
  6. จัดสภาพแวดล้อมและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการเรียนรู้
  7. กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ยุทธศาสตร์


  1. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีอัตลักษณ์ “ยิ้มง่าย ไหว้สวย”
  2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพในเขตระเบียงเศรษฐกิจ มุ่งสู่ศตวรรษที่ 21
  3. ประกันคุณภาพการเรียนการสอน บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียน
    การสอนให้ไปสู่ ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน พร้อมกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
  4. ส่งเสริม พัฒนา สมรรถนะครูผู้สอนอย่างต่อเนื่อง
  5. พัฒนาระบบฐานข้อมูล แหล่งเรียนรู้ ในเขตระเบียงเศรษฐกิจ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน

เป้าประสงค์


  1. ผู้เรียนมีความเป็นเลิศตามศักยภาพมีสุขภาพที่ดี และมีสุนทรียภาพด้านดนตรี กีฬา เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอาเซียน
  2. ผู้เรียนมีคุณธรรมและจริยธรรมที่ดีงาม มีจิตอาสาและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  3. หลักสูตรเป็นมาตรฐานสากล ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานอาชีพอย่างน้อย 1 อาชีพ และมีทักษะในการสื่อสารอย่างน้อย 2 ภาษาเพื่อมุ่งผู้เรียนมีงานท าในเขตระเบียงเศรษฐกิจ สู่สมรรถนะในศตวรรษที่ 21และยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนให้สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ
  4. ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นบุคคลแห่งการเปลี่ยนแปลง (Change Agency) เป็นครูมืออาชีพ พัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีและการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษา
  5. สภาพแวดล้อมร่มรื่นและเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้พัฒนาแหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อม
    ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาให้เป็นเครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็ง
  6. น้อมน าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการเพื่อการจัดการการเรียนรู้ในการด าเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขบริหารและท างานโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมที่จะน าไปสู่ความมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืน

แผนงาน


  1. ส่งเสริมให้นักเรียนมีอัตลักษณ์ ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพตามหลักสูตรสถานศึกษา
    ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และทวิศึกษา ในเขตระเบียงเศรษฐกิจสู่ศตวรรษที่ 21
  2. ประกันคุณภาพด้านการสอน ด้านกีฬา ด้านอาชีพ ด้านภาษา พัฒนาอาคารเรียน สื่อเทคโนโลยีด้าน
    การเรียนการสอนให้ครบ สิ่งแวดล้อมร่มรื่น มีระบบดูแลช่วยเหลือเด็ก พัฒนาระบบก ากับติดตามคุณภาพงาน
    ที่ใช้หลักธรรมมาภิบาล การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งสู่ความ
    มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
  3. สร้างครูมืออาชีพสนับสนุนความก้าวหน้าในช่วงเริ่มสู่อาชีพ 10 ปีแรก สร้างเครือข่ายครูทุ่งศุขลา
    และพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของครูและนักเรียน
  4. จัดตั้งกองทุน ระดมทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษา-การวิจัยและพัฒนา และเสริมแรง
    ส าหรับครูและบุคลากรในโรงเรียน