• 038-350-456
  • tp@thungsukla.ac.th
  • จ-ศ 08:00 - 16:00 น.

Line ID@984LBFJU

Facebookโรงเรียนทุ่งศุขลาพิทยา “กรุงไทยอนุเคราะห์”

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการประเมิน ITA

การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐหรือ Integrity and Transparency Assessment หรือที่เรียกว่าการประเมินITAถือเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐเครื่องมือหนึ่งโดยเป็นเครื่องมือในเชิงบวกที่มุ่งพัฒนาระบบราชการไทยในเชิงสร้างสรรค์มากกว่ามุ่งจับผิดเปรียบเสมือนเครื่องมือตรวจสุขภาพองค์กรประจำปีโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐทัวประเทศได้รับทราบถึงสถานะและปัญหาการดำเนินงานด้านคุณธรรมและความโปร่งใสขององค์กรผลการประเมินที่ได้จะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานการให้บริการสามารถอำนวยความสะดวกและตอสนองต่อประชาชนได้ดียิงขึ้นซึ่งถือเป็นการยกระดับมาตรฐานการดeเนินงานภาครัฐดังนั้นการประเมิน ITAจึงไม่ได้เป็นเพียงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสเพียงเท่านันแต่ยังเป็นการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและการให้บริการประชาชนเพื่อให้ทราบถึงช่องว่างของความไม่เป็นธรรมและความด้อยประสิทธิภาพสำหรับนำไปจัดทำแนวทางมาตรการต่างๆในการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในระบบราชการไทยต่อไปการประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณพ.ศ.2565 นับเป็นปีที่10ของการดำเนินการที่ผ่านมาและเป็นปีที่5ที่ได้ปรับเข้าสู่การประเมินในรูปแบบออนไลน์อีกทั้งยังเป็นปีสุดท้ายของช่วงระยะที่ 1 (พ.ศ.2561–2565) ของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบโดยมีหน่วยงานภาครัฐจำนวน 8,303 แห่งทัวประเทศเข้าร่วมการประเมินกล่าวได้ว่าเป็นการประเมินด้านธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการ่ภาครัฐที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย
ในปัจจุบันการประเมิน ITA ถือเป็นเครื่องมือที่หน่วยงานภาครัฐได้สำรวจและประเมินตนเองเพื่อให้ได้รับทราบข้อมูลอันส่งผลให้เกิดความตระหนักและปรับปรุงการบริหารงานและกำกับดูแลการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์ต่อประชาชนและให้ความสำคัญกับด้านคุณธรรมและความโปร่งใสขององค์กรตนเองมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้การประเมิน ITA ยังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของหน่วยงานภาครัฐในทางปฏิบัติอย่างเห็นได้ชัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งความตื่นตัวและหันมาให้ความสนใจต่อการพัฒนาแฟลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ของตนเองให้ทันสมัยและน่าสนใจมากขึ้นที่สำคัญคือส่งผลให้หน่วยงานมีการจัดการข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นระบบระเบียบและเตรียมความพร้อมในการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะให้ได้รับทราบและส่งเสริมให้เกิดการตรวจสอบอีกด้วย
นอกจากนี้ในด้านของประชาชนและสังคมไทยแล้วการประเมิน ITA ถือเป็นเครื่องมือที่ทุกคนจะได้มีส่วนร่วมในการสะท้อนความคิดเห็นเพื่อนำไปสู่พัฒนาการบริหารงานภาครัฐเพื่อให้ประชาชนคนไทยได้รับบริการจากภาครัฐที่ดีขึ้นและยังส่งผลให้ประชาชนและสาธารณชนมีโอกาสได้มีส่วนร่วมกำกับติดตามและตรวจสอบการดำเนินงานของภาครัฐได้มากขึ้นอีกด้วย